top of page

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งในประเทศไทยและในส่วนต่างๆของโลกจะสัมพันธ์กับปรากฏการณ์อันเกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ  ของโลกทั้ง 4 ประการ คือ อุทกภาค  ชีวภาค  ธรณีภาค  บรรยากาศ

อุทกภาค (hydrosphere)

            อุทกภาค  (hydrosphere)  หมายถึง  ส่วนที่เป็นน้ำที่อยู่บนพื้นโลกทั้งหมด  ประกอบด้วย  น้ำจืดที่อยู่ในแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินร้อยละ  3.0  และน้ำเค็ม  ที่อยู่ในเทละและมหาสมุทรร้อยละ  97.0

          น้ำจืด  เป็นน้ำที่กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำทั้งในระดับที่ผิวดิน  น้ำที่อยู่บนผิวดิน  เช่น  น้ำจืดที่กระจายอยู่ตามแม่น้ำ  ลำธาร  หนอง  คลอง  บึง  รวมถึงธารน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่บนยอดเขาสูง ๆ ที่ละลายเป็นน้ำจืด  ส่วนน้ำใต้ดินและน้ำบาดาล  เป็นน้ำที่ไหลซึมลงไปใต้ดิน  ตามช่องว่างของดินหรือหินผุ  มีลักษณะคล้ายธารน้ำใต้ดิน  น้ำจืดจำนวนมากจะอยู่ในรูปของน้ำแข็ง  โดยเฉพาะบริเวณขั้วโลก

           น้ำเค็ม  กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ของโลก  ได้แก่  มหาสมุทร  และทะเล 

ปรากฏการณ์จากอุทกภาคที่สำคัญ มีดังนี้ 

         1.  วัฎจักรของน้ำ   หมายถึง การหมุนเวียนเปลี่ยนสถานะของน้ำ จากแหล่งน้ำต่างๆ  เช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ หนอง บึง ทะเลสาบ เป็นต้น  ระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศรวมกับไอน้ำที่มาจากต้นไม้  คือในขณะที่ต้นไม้ดูด้ำจากพื้นดินแล้วปล่อยให้น้ำออกสู่บรรยากาศโดยผ่านใบไม้ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า การหายใจ ไอน้ำในบรรยากาศจะรวมตัวกันและกลั่นตัวเป็นเม็ดฝนหรือหิมะ ตกลงมายังแหล่งน้ำต่างๆ และซึมลงใต้ดิน หมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดไป

ปริมาณน้ำที่โลกมีอยู่เกิดจากฝนตกลงในทะเล  มหาสมุทรร้อยละ 77 ฝนตกลงในแผ่นดินร้อยละ 23 ส่วนการระเหยเป็นไอน้ำขึ้นไปในบรรยากาศจะระเหยจากแหล่งน้ำต่างๆร้อยละ 84 และระเหยจากดินและจากการคายน้ำของพืชอีกร้อยละ 16

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ 

            สภาวะปกติของบรรยากาศจะมีแก๊สชนิดต่างๆ มีปริมาณไอน้ำและฝุ่นละอองอย่างสมดุล  เมื่องดวงอาทิตย์ส่องแสงและแผ่รังสีความร้อนมาสู่โลก พลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ประมาณร้อยละ 6 จะแพร่กระจายและสะท้อนกลับก่อนถึงบรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์ อีกร้อยละ 14 จุถูกดูดซึมโดยโมเลกุลต่างๆ ของแก๊สและฝุ่นละอองในบรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์และสแตรโทสเฟียร์ ประมาณร้อยละ 30 และถูกเมฆดูดซึมไว้อีกร้อยละ 5 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 45 จึงลงสู่พื้นกระทบผิวโลก 
            การที่บรรยายกาศสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์กลับจึงทำให้บรรยายกาศของโลกไม่ร้อนมากจนเกินไป และการที่บรรยากาศสามารถดูดซึมความร้อนบางส่วนไว่ช่วยให้ในเวลากลางคืนที่โลกไม่ได้รับแสงอาทิตย์ยังมีความอบอุ่นอยู่ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า "ปรากฏกาณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) ซึ่งแก๊สที่ช่วยให้พลังงานรังสีอาทิตย์ที่สะท้อนกลับไม่สามารถทะลุชั้นบรรยากาศออกไปได้ทั้งหมดเรียกว่า "แก๊สเรือนกระจก" (greenhouse gases) ประกอบด้วย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทน แก๊สออกไซด์ของไนโตรเจน โอโซน และไอน้ำ แต่เมื่อองค์ประกอบของแก๊สในบรรยากาศตามธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงไปจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ การใช้สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) การใช้พลังงานเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมาก จนส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงมากขึ้นและภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดภัยพิบัติต่อมวลมนุษย์เอง

ภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect)

 

ความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากสาเหตุต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนของภูมิอากาศทำให้เกิดภัยพิบัติ ดังนี้

    
 
 
 1.การละลายของธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็ง

 

   การละลายของธารน้ำแข็ง

 

   หมีขั้วโลกกับน้ำแข็งที่หายไป

 

   เกาะมัลดิฟส์จะหายไป

 

   การละลายของธารน้ำแข็งมีผลต่อประชากรหมีขั้วโลก

 
 
 
 

 

 

 

2. ปรากฏการณ์ภัยแล้ง

 

    ทุกขภิกภัย

 

    หายนะของมวลมนุษยชาติ

 
 
 
 
 
 
 
3 ปรากฏการณ์การณ์เอลนิโญ (El Nino)

 

   เอลนิโญ

 

   ปรากฏการณ์เอลนิโญ

 

 

 

 
 
 
 
 
4 ปรากฏการณ์ลานิญา

 

   ลานิญา

 

   El Nino -La Nina

 

   La Nina

 

ชีวภาค (Biosphere)


       ชีวภาค (Biosphere)  หมายถึง บริเวณของผิวโลก รวมทั้งในบรรยากาศและใต้ดินที่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นทั้งที่มีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว ได้แก่ พืช สัตว์ มนุษย์ โดยพื้นที่หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กันและมีการปรับปรุงตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งในด้านบรรยากาศ ธรณีภาค และอุทกภาค

       1) ปรากฏการณ์ทางชีวภาคของพืช ที่สำคัญ มีดังนี้

           1.1  ลักษณะทางกายภาพของพืช พืชมีองค์ประกอบทางชีวภาพเฉพาะที่มีความแตกต่าง สามารถเห็นได้ชัด  แบ่งออกเป็น

          ประเภทของพืช  เช่น ไม้ยืนต้น  ไม้ล้มลุก  ไม้เถา  ไม้เกาะ หญ้า  กาฝาก  เป็นต้น

          ขนาดและความสูงของลำต้น  เช่น ไม้ยืนต้นมีขนาดลำต้นสูงใหญ่ เป็นไม้เนื้อแข็ง มีกิ่งก้านสาขา  ส่วนไม้พ่มมีขนาดลำต้นเล็ก มีเนื้อไม้ไม่มาก ลำต้นไม่สูงขึ้นอยู่รวมกันเป็นกอ

          การแผ่ร่มเงา  เช่น ร่มเงาของพืชจะทำให้อุณหภูมิของดินเปลี่ยนไป ช่วยให้แบคทีเรีย รวมถึงสัตว์เล็กๆ อาศัยอยู่ได้ และเพิ่มจำนวนมากขึ้น สภาพของดินมีความอุดมสมบูรณ์ จนในที่สุดจะมีพืชอื่นๆ ขึ้นตามกันมา ซึ่งเป็นพืชที่มีขนาดใหญ่กว่าพืชเดิม สร้างร่มเงาแก่ดินมากขึ้น เป็นต้น

         การทำหน้าที่ของพืช  เช่น พืชจะดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ในการสังเคราะห์แสงและคายแก๊สออกซิเจนออกมา ซึ่งเป็นแก๊สที่มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต เป็นต้น

        ลักษณะของขนาดของใบ รูปร่าง  เช่น  พืชในเขตแห้งแล้งจะมีใบมันและเป็นพืชมีหนาม ส่วนพืชในเขตร้อนชื้น จะมีใบใหญ่และเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี  เป็นต้น

         1.2 การกระจายของพืชพรรณธรรมชาติในโลก การกระจายของพืชพรรณ จำแนกตามสภาพแวดล้อมแบ่งได้  3 ประเภทตามชีววัฏจักร คือ

        1 พืชที่เจริญเติบโตได้ในน้ำเค็ม  เช่น  สาหร่าย  หญ้าทะเล  

        2 พืชที่เจริญเติบโตได้ในน้ำจืด  บริเวณชายตลิ่งของแหล่งน้ำจืดและในพื้นที่น้ำจืดจะมีพืชหลายชนิดที่เจริญเติบโตอยู่ 

        3 พืชที่เจริญเติบโตในแผ่นดิน  บริเวณแผ่นดินที่มีพืชขึ้นได้แบ่งออกตามลักษณะของพืชได้ 4 ชนิด  ประกอบด้วย  ป่าไม้  ป่าสลับทุ่งหญ้า  ทุ่งหญ้าและพืชทะเลทราย  

         2) ปรากฏการณ์ทางชีวภาคของสัตว์
สัตว์ชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในโลกมีแหล่งหรือถิ่นที่อยู่หลัก 7 พื้นที่  ดังนี้

         1. สัตว์ในเขตป่าดิบ  
          เขตร้อนชื้นจะมีป่าไม้ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เช่น ลิง ค้างคาว งู นกแก้ว มด ตัวต่อ ผึ้ง เสือ สมเสร็จ ชิมแปนซี กอริลลา เป็นต้น โดยสัตว์ต่างๆ จะอาศัยอยู่ทั้งบนดิน และบนต้นไม้ นอกจากนี้ ในแม่น้ำและบึงจะมีจระเข้และปลาชนิดต่างๆอาศัยอยู่

 

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         2.  สัตว์ในเขตป่าอบอ่น
         สัตว์ขนาดเล็กที่พบเห็นในเขตป่าอบอุ่นจะมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เช่น สัตว์จำพวกกระรอกพันธ์ต่างๆ  ส่วนในพื้นที่ป่าขนาดใหญ่จะพบสัตว์ประเภทหมีและกวางชนิดต่างๆ  เขตป่าอบอุ่นในทวีปออสเตรเลียจะพบ อโคลา (koala) และนกนานาชนิด เช่น นกกีวีในประเทศนิวซีแลนด์ โดยพื้นล่างจะมีทั้งกิ้งก่า ทาก ส่วนในลำน้ำ จะมีปลาชนิดต่างๆ กบ เต่า เป็นต้น

 

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           3.  สัตว์ในเขตท่งหญ้า

        สัตว์ที่พบ เช่น เนื้อทราย วัว ม้าลาย วัวกระทิง ซีดาห์ สิงโต หมาป่า ช้าง แรด ฮิปโปโปเตมัส ยีราฟ และนกกระจอกเทศ เป็นต้น  สำหรับในบางพื้นที่จะมีสัตว์ประจำถิ่น ได้แก่ จิงโจ้ ในประเทศออสเตรเลีย หมาป่า กวางในทวีปอเมริกาเหนือ และหมีแพนดาในประเทศจีน

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         4. สัตว์ในเขตทะเลทราย
        จะพบสัตว์ประเภท ตะขาบ แมงป่อง ผึ้ง ผีเสื้อ สัตว์เลื้อยคลาน และนกชนิดต่างๆ  โดยสัตวในเขตทะเลทรายมักจะมีสีผิวสวยงาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       

 

 

 

        5. สัตว์ในเขตขั้วโลก 
        เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น สัตว์ในเขตนี้จึงเป็นสัตว์ประเภทที่มีขนยาว เช่น กวางแคริบูน หมีขาว หมีสีน้ำตาล กรต่ายป่า  ส่วนในทะเลจะพบ ปลา ฟองน้ำ วาฬ กุ้งกริล เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       

 

 

 

 

        6. สัตว์ในเขตภูเขา 
        สัตว์ที่อยู่ตามพื้นที่สูง เช่น หมี กวาง ลามา จามรี ในพื้นที่ลาดชันจะพบ แกะ แพะ  นอกจากนี้ยังพบแมลงต่างๆ  เช่น ผีเสื้อ ตั๊กแตน เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                7. สัตว์ในมหาสมุทร

         ในน้ำเค็มของทะเลและมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของสัตว์ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา โลมา วาฬ เป็นต้น โดยในเขตน้ำลึกจะมีสัตว์ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มืดและหนาวเย็นได้  เช่น ปลากระเบน และปลาไหลบางชนิด เป็นต้น

ธรณีภาค  (lithosphere)
            ส่วนประกอบของโลกที่เป็นของแข็งประกอบไปด้วยหินและดินชนิดต่างๆ ซึ่งหุ้มห่อโลกอยู่เป็นผิวเปลือกโลก  เป็นพื้นที่ที่มนุษย์ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม  และวัฒนธรรม

เนื่องจากส่วนธณีภาค จะประกอบด้วย แผ่นพื้นทวีป กับแผ่นภาคพื้นสมุทรและถูกรองรับด้วยฐานธรณีภาค (asthensphere)  กับส่วนเนื้อโลก (mantle) ที่มีอาณาบริเวณที่เป็นหินหนืด (magma) หินหนืดเป็นสารเหลวร้อนมีการเคลื่อนตัวภายในโลก จึงส่งผลให้เปลือกโลกที่เป็นแผ่นภาคพื้นทวีปและแผ่นภาคพื้นสมุทรเคลื่อนที่ ซึ่งเรียกว่า  ทวีปเลื่อน โดยลักษณะการเคลื่อนที่มีทั้งลักษณะการเคลื่อนตัวแยกออกจากกันและการเลื่อนชนหรือมุดเข้าหากันของเปลือกโลก

ทฤษฎีทวีปเลื่อน(Continental Drift Theorly)

     ในปี ค.ศ.1915 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ alfred Wegenerได้เสนอสมมติฐานทวีปเลื่อนขึ้น และได้รับการยอมรับในปี ค.ศ.1940 สมมติฐานกล่าวไว้ว่า เมื่อราว 250 ล้านปีก่อน ทวีปต่าง ๆ เคยติดกันเป็นทวีปขนาดใหญ่เรียกว่า พันเจีย (Pangea) ต่อมามีการเคลื่อนตัวแยกออกจากกัน จนมาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน หลักฐานที่เชื่อว่าแผ่นทวีปเคลื่อนที่นี้คือ ในปัจจุบันได้พบชนิดหิน ที่เกิดในสภาวะแวดล้อมเดียวกันแต่อยู่คนละทวีปซึ่งห่างไกลกันมากหินอายุเดียวกัน ที่อยู่ต่างทวีปกันมีรูปแบบสนามแม่เหล็กโลกโบราณคล้ายคลึงกัน และขอบของทวีปสามารถเชื่อมตัวประสานแนบสนิทเข้าด้วยกันได้

      จากทฤษฎีของอัลเฟรด เวเกเนอร์ (Afred Wegener) ที่ว่าโลกเมื่อ 225 ล้านปี มีผืนแผ่นดินใหญ่ติดต่อกันเพียงผืนแผ่นดินเดียว เรียกว่า พันเจีย (Pangea) และเรียกมหาสมุทรทั้งหมดว่า พันทาลัสซา (Panthalassa)  มีทะเลเททิส (Tethys Sea)  อยู่ระหว่างทวีปยูเรเซียกับแอฟริกา

ผืนแผ่นดินพันเจียได้แยกออกจากกันกลายเป็นทวีปต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  คือ
        1.  แผ่นดินซีกโลกเหนือ เรียกว่า ลอเรเซีย  ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเซีย
        2.  แผ่นดินซีกโลกใต้ เรียกว่า กอนด์วานา ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา  อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติกา

        และทวีปต่างๆ เริ่มแยกออกจากกัน โดยที่อินเดียค่อยๆเลื่อนขึ้นไปชนกับทวีปเอเซีย จนกลายเป็นผืนแผ่นดินทวีปต่างๆ เหมือนเช่นในปัจจุบัน

bottom of page